ผลงาน



ท่านทรงมีผลงานต่างๆมากมาย โดยทางผู้จัดทำ จะหยิบยกประเด็นสำคัญมาให้รับทราบกัน

โดยแบ่งเป็นข้อดังนี้

1.พระองค์ทรงเป็นนักการทูตที่ปรากฎพระนาม เป็นที่ยกย่องอย่างสูงในวงการทูต ตลอดสมัยที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีดกระทรวงการต่างประเทศ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ (พ.ศ.2426 - 2466)

2.ทรงเป็นผู้ทูลเสนอให้ตั้งทูตไทยไปประจำอยู่ในราชสำนักต่างประเทศเป็นครั้งแรก ไทยจึงเริ่มตั้งกงสุลขึ้นในอังกฤษเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2425 แล้วจึงตั้งในประทศฝรั่งเศส และประเทศอื่น ๆ ต่อมาทำให้นานาประเทศเริ่มยกย่องเกียรติยศของประเทศไทย และจัดตั้งราชทูตมาประจำในเมืองไทยเป็นการตอบแทน

3.กรมหมื่นเทวะวงศ์ ฯ ได้เป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ.2428

4.ในปี พ.ศ.2430 ได้เสด็จไปร่วมงานฉลองในการที่สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย ครองราชย์ครบ 50 ปี แทนพระองค์ ในขณะเดียวกันทรงเป็นผู้แทนไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศ สวีเดน ฝรั่งเศส และเยอรมัน เมื่อเสด็จกลับจากยุโรป เมื่อเสด็จถึงญี่ปุ่นได้เป็นผู้เจรจาทำหนังสือแสดงทางไมตรีกับญี่ปุ่น

5.ในปี พ.ศ.2435 มีการตั้งเสนาบดีสภาขึ้น 12 ตำแหน่ง กรมหลวงเทวะวงศ์ ฯ ทรงเป็นหัวหน้าเสนาบดี มาทั้งสองรัชกาล ตลอดพระชนมายุ รวม 31 ปี ระหว่างเหตุการณ์ ร.ศ.112 หรือ "เหตุการณ์ที่ปากน้ำ" กรมหลวงเทวะวงศ์ ฯ ทรงใช้สติปัญญาอันเฉลียวฉลาด พระราชดำริอันสุขุมรอบครอบ ในการเจรจากับผู้แทนฝรั่งเศส แก้ไขสถานการณ์อันตึงเครียดลงได้

6.ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทวะวงศ์วโรปการ  และทรงดำรงตำแหน่งผู้รักษาราชการพระนคร เมื่อไม่ทรงประทับอยู่ เป็นนายกสภาการคลัง นายกกรรมการตรวจร่างประมวลกฎหมาย ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และราชการในพระองค์เป็นประจำ

7.ท่านได้จัดทำสนธิสัญญากับอังกฤษและฝรั่งเศส  ทรงได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับสำหรับการรักษาอธิปไตยของไทย

8.ทรงปรับปรุงระบบราชการของกระทรวงการต่างประเทศให้เหมือนกับของบรรดาอารยประเทศ  แบ่งส่วนราชการเป็นกองต่าง ๆ ตามภารกิจหน้าที่  เช่น กองกลาง  กองการทูต กองการกงสุล กองการคดี  กองการกฎหมาย กองเก็บหนังสือ กองแปล กองการบัญชี  แผนกคนต่าง ประเทศ ทรงกำหนดระเบียบวิธีร่างและเขียนจดหมายราชการ  การรับ-ส่ง  การเก็บหนังสือและเอกสารต่าง ๆ  และสถิติการเข้า-ออกของหนังสือทุกประเภทของทุกกอง  รวมทั้งทรงกำหนดให้ข้าราชการ            ลงเวลามาและกลับในสมุดประจำ  จนเป็นแบบแผนการปฏิบัติราชการแก่กระทรวงอื่น   รวมทั้งขอพระราชทานที่ทำการ เพื่อให้เป็น“ศาลาว่าการต่างประเทศ”  ซึ่งนับว่าเป็นกระทรวงแรกที่มีศาลาว่าการกระทรวงเป็นที่ทำการ  แทนการใช้บ้านเสนาบดีเป็นที่ทำการ

9.ทรงมีความเชี่ยวชาญในหลากหลายด้าน อาทิ ภาษาไทย ภาษามคธ ภาษาอังกฤษ และวิชาเลข  นอกจากนี้  ยังทรงมีความสนพระทัยในเรื่องโหราศาสตร์และสมุนไพร  ทรงเป็นผู้คิดปฏิทินตาม สุริยคติ นับวันและเดือนแบบสากล  เรียกว่า “เทวะประติทิน”  ซึ่งเป็นต้นแบบของปฏิทินในปัจจุบัน  พร้อมทั้งทรงเป็นผู้คิดชื่อเดือน   มีการแบ่งชื่อเรียกเดือนที่มี 30 วัน และ 31 วันชัดเจนด้วยการใช้คำนำหน้าจากชื่อราศี สมาสกับคำว่า “อาคม” และ “อายน” ที่แปลว่า การมาถึง

จากข้อ 9 สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
 http://www.iseehistory.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538649158


จะเห็นได้ว่า ท่านทรงมีพระคุณต่อประเทศในด้านต่างๆมากมาย เราควรที่จะศึกษาไว้เป็นแบบอย่าง

และนำข้อมูลเหล่านี้ที่ทางผู้จัดทำได้รวบรวมไว้ไปใช้ประโยชน์ให้เกิดผลมากที่สุด

No comments:

Post a Comment